เกียรติศักดิ์ ศรีพิมานวัฒน์
เกียรติศักดิ์ ศรีพิมานวัฒน์
องค์ความรู้ที่ทยอยสร้างฐานมาตั้งแต่เริ่มการรวมกลุ่ม Q-Thai.Org เมื่อ พ.ศ. 2547รวมถึงประสบการณ์การสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดกลาง (ภาคผนวก ค) ได้นำมาบูรณาการร่วมกับ “สารสนเทศเชิงควอนตัมประเทศไทย: พัฒนาการด้านวิทยาการรหัสลับ อดีตสู่อนาคต (พ.ศ.๒๕๕๗)” และความก้าวหน้าช่วงปีถัดมา โดยได้สรุปรวมเป็นข้อเสนอในร่างใหม่ หากได้พิจารณาร่วมกับข้อมูลจาก “ทรัพย์สินทางปัญญาเทคโนโลยีรหัสลับเชิงควอนตัม และบทสรุปมาตรฐานรหัสลับควอนตัมโลก” อีกสองแหล่งข้อมูลสำคัญที่พัฒนาไว้ล่าสุด (พ.ศ. 2559) ด้วยนั้น ก็จะได้เป็นภาพอนาคตที่ชัดเจนมากขึ้น และเมื่อจตุปัจจัยหลักทั้งสี่คือ งบประมาณ บุคลากร วิทยาการและนโยบาย สามารถบังเกิดได้ในเวลาใกล้เคียงกัน ข้อเสนอโครงการเปิดกว้างสาธารณะนี้จึงอาจมีศักยภาพที่จะดำเนินการต่อได้ แต่หากโอกาสการจาตุรงค์ของปัจจัยสี่เหล่านั้นน้อยมากก็มิควรดำเนินการซ้ำแนวทางเดิมอีก อันจะเป็นการสูญเปล่าละลายโอกาสที่มีน้อยในแม่น้ำสายความคาดหวังขนาดใหญ่ซ้ำเดิมเช่นอดีต หากอนาคตวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัมในประเทศไทยจำเป็นต้องวนเวียนอยู่แต่กรณีหลัง สมุดปกขาวฉบับนี้อย่างน้อยยังคงได้เป็นบันทึกความรู้ระหว่างทางของการศึกษา วิจัยและพัฒนา เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ก่อนหน้าได้ และคงมีประโยชน์อื่นอยู่บ้างด้วย เช่น ช่วยป้องกันหรือร่วมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสังคมความรู้วิทยาศาสตร์ไทยต่อเรื่องหลอกลวง (fraud) ต่าง ๆ จากการนำ “ควอนตัม” ไปใช้ผิดทาง รวมทั้งส่งเสริมให้นักวิชาการสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศได้รับการตรวจสอบจากสังคมและกระตุ้นให้อยู่ในแนวทางเชิงสร้างสรรค์ ห่างไกลจากวิทยาศาสตร์เทียม (pseudo science) ต่อไปได้ด้วย ร่วมสนับสนุนโครงการ Free eBook บริจาคตามสะดวก สมาคม IEEE Thailand section (ติดต่อ email: thailand_chapter@comsoc.org)
จดหมายเหตุโทรคมนาคมโลกและประเทศไทย (2011)
สารสนเทศเชิงควอนตัมประเทศไทย: พัฒนาการด้านวิทยาการรหัสลับ อดีตสู่อนาคต (พ.ศ.๒๕๕๗)
จดหมายเหตุวิทยาการแสงและควอนตัม (Light & Quantum Milestones)
รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ไอทีควอนตัม (1)
สารานุกรมโทรคมนาคมไทย (2009)
ตามรอยสิบปี “รหัส เทอร์โบ” ...รหัสอลวน (A Brief History of Turbo Codes)
“เข้าใจ”ควอนตัมกันอย่างไร ?