ดุจเพชร
ดุจเพชร
จากกระแสความตื่นตัวเรื่องการประหยัดพลังงานที่เกิดขึ้นทั่วโลก หลอด LED เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ประหยัดพลังงานที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน มีการเริ่มต้นใช้ในเชิงพาณิชย์มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1962 และได้รับความสนใจเพิ่มสูงขึ้นในปี ค.ศ. 1996 หลังจากมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนสามารถนำมาใช้ทดแทนหลอดไฟประเภทต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสูญเสียพลังงานที่น้อยกว่าการใช้หลอดไฟระบบอื่นๆ อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในอดีต สำหรับในประเทศไทยมีการใช้หลอดไฟหลากหลายประเภท สามารถแบ่ง เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ 1. Incandescent 2. Fluorescent 3. Metal Halide (MH) และ 4. Light Emitting Diode ซึ่งหลอดไดโอดเปล่งแสง (LED) คือหลอดไฟชนิดใหม่ที่กำลังเข้ามาคลองตลาดการส่องแสงในโลกปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับและมีการผลักดันให้ตั้งใจร่วมกันเปลี่ยนมุมมองการใช้อุปกรณ์แสงใหม่ให้ได้ประสิทธิภาพสูง แสงสว่างมาก แต่ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำในประเภท ไดโอด (diode) ที่สามารถเปล่งแสงในช่วงสเปกตรัมแคบ เมื่อจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้ตัวไดโอด อายุการใช้งานของหลอดไฟ LED ยาวนานถึง 100,000 ชั่วโมง หรือ 11 ปี หลอดแบบ fluorescent มีอายุการใช้งาน 30,000 ชั่วโมง และ หลอดแบบ incandescent ที่มีอายุการใช้งานเพียง 1,000-2,000 ชั่วโมงเท่านั้น หลอดไดโอดเปล่งแสงมีความทนทานต่อการสั่นสะเทือน มีหลายสี เช่น สีฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง มีความยาวคลื่นประมาณ 468 นาโนเมตร (nm), สีขาวมีความยาวคลื่นประมาณ 462 นาโนเมตร (nm), สีเหลือง มีความยาวคลื่นประมาณ 468 นาโนเมตร (nm) และ สีเขียว มีความยาวคลื่นประมาณ 565 นาโนเมตร (nm) แสงที่เกิดขึ้นจากพลัง งานที่ปลดปล่อยจากอะตอม คือ แนวคิดและหลักการทำงานเบื้องต้นของหลอดแอลอีดี ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ มีขนาดการขับกระแสตั้งแต่ 1mA-มากกว่า 1A แบ่งได้ 2 แบบ คือ แบบ Lamp Type และ แบบ Surface Mount LED stage lights มี 4 แบบ ได้แก่ 1. LED PAR cans 2. LED floodlight หรือ LED striplights 3. LED moving head lights และ 4. LED spotlights รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ให้ความสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้หลอดไฟไดโอดเปล่งแสงมีราคาถูกลงและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น หลอดไฟ LED ปล่อยความร้อนออกมาน้อยมาก ทำให้การลดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าในอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดต่างๆ เป็นไปอย่างสอดคล้องกับหลักการลดภาวะโลกร้อนลงได้อีกโสตหนึ่งด้วย
ฝ่ายแสงกับการซ้อมและการแสดง/LIGHTING REHEARSAL AND PERFORMANCE PROCEDURES.
ผู้จำหน่ายและให้เช่าระบบแสง/SALE AND RENT LIGHTING SYSTEM.
การจัดแสงล่วงหน้าลงพื้นที่การแสดง/LIGHTING THE ACTING AREAS IN ADVANCE.
ขั้นตอนการออกแบบแสง/STAGE LIGHTING DESIGN PROCESS.
การออกแบบแสงเพื่อการแสดงบนเวที/STAGE LIGHTING DESIGN.
หลักการจัดแสงลงพื้นที่การแสดง/ LIGHTING FOR ACTING SPACE.
ทิศทางและมุมของแสง/STAGE LIGHTING POSITIONS AND ANGLES
ทฤษฏีสีกับการออกแบบแสง/THEORY OF COLOR FOR STAGE LIGHTING DESIGN
อุปกรณ์ควบคุมระดับแสง/INTENSITY CONTROL FOR STAGE LIGHTING
ระบบถ่วงน้ำหนักสมดุล/ THEATRICAL RIGGING SYSTEM
หลักการไฟฟ้าพื้นฐานเพื่อการจัดแสง/ BASIC ELECTRICAL THEORY FOR STAGE LIGHTING
อุปกรณ์เครื่ืองให้แสงสว่างสำหรับเวที/STAGE LIGHTING INSTRUMENT
การจัดแสงด้วยความปลอดภัย/ ELECTRICAL SAFETY FOR STAGE LIGHTING
อุปกรณ์เครื่ืองให้แสงสว่างสำหรับเวที/STAGE LIGHTING INSTRUMENT
เจ้าหน้าที่ฝ่ายแสงและหน้าที่ประกอบงาน / STAGE LIGHTING PRODUCTION TEAM
ประวัติการจัดแสงสำหรับเวที: HISTORY OF STAGE LIGHTING
จุดมุ่งหมายในการจัดแสงสำหรับเวที/THE PURPOSE OF LIGHTING FOR THE STAGE
ภาพร่างสีน้ำกับการออกแบบฉาก/WATER COLOR SKETCH FOR SCENIC DESIGN
องค์ประกอบศิลป์ในการออกแบบฉาก/PRINCIPLES OF SCENIC DESIGN